All About New Zealand | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. สภาพภูมิศาสตร์ ประเทศนิวซีแลนด์ ดินแดนกีวีแห่งนี้ ตั้งอยู่ห่างจากประเทศออสเตรเลียไปทางทิศตะวันออกประมาณ 2,200 กม. มีเกาะที่สำคัญๆ คือ เกาะเหนือ(115,000 ตร.กม.) เกาะใต้(151,000 ตร.กม.) และเกาะสจ๊วต (เกาะเล็กๆ ทางใต้สุดของประเทศที่มีพื้นที่เพียง 1,746 ตร.กม.) ระยะทางจากตอนเหนือสุดของเกาะเหนือ ถึงตอนใต้สุดของเกาะใต้ยาวประมาณ 1,600 กม. ขนาดของประเทศนิวซีแลนด์นั้นมีพื้นที่รวมเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทยเท่านั้น แต่กลับพบว่าทั้งประเทศมีประชากรโดยรวมเพียงประมาณ 4.55 ล้านคน หรือน้อยกว่าประเทศไทยถึงกว่า 16 เท่า โดยประชากรกว่า 70% อาศัยอยู่ในเมืองหลักๆ ของประเทศเพียงไม่กี่เมือง (Auckland, Hamilton, Wellington ในเกาะเหนือ และ Christchurch, Dunedin ในเกาะใต้) สภาพภูมิประเทศ ประกอบด้วยเทือกเขาสูงตอนกลางของประเทศในเกาะเหนือ และเทือกเขาสูง ทอดยาวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ในเกาะใต้ สภาพแวดล้อมดังกล่าวทำให้ประเทศนิวซีแลนด์มีทะเลสาบนับร้อยๆ แห่ง แม่น้ำมากมายหลายสาย และมีอุทยานแห่งชาติ (National Park) จำนวน 14 แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ และมีทางเดินป่านับพันๆ Track ยอดเขาสูงที่สุดของประเทศนิวซีแลนด์ (รวมถึงทั้งทวีปออสเตรเรีย) ได้แก่ Mt Cook (At 3,755 ม.) ตั้งอยู่ตอนกลางของเกาะใต้ ส่วนทะเลสาบที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ Lake Taupo (606 ตร.กม.) ในเกาะเหนือ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2. สภาพภูมิอากาศ
อุณหภูมิโดยเฉลี่ยโดยทั่วไปเกาะเหนือจะอบอุ่นกว่าเกาะใต้ (เฉลี่ย 9-25 °C ใน Auckland เทียบกับ 2-22 °C ใน Christchurch) และทางฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีสูงกว่าทางฝั่งตะวันออก |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3. เวลา เวลาที่นิวซีแลนด์โดยปกติเร็วกว่าประเทศไทย 5 ชม. ยกเว้นในช่วง Daylight-Saving Time คือ ในช่วงวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนกันยายน ถึงวันอาทิตย์แรกของเดือนเมษายน ของทุกๆ ปี เวลาที่นิวซีแลนด์จะมีการปรับให้เร็วขึ้นอีก 1 ชม. ทำให้เวลา ที่นิวซีแลนด์จะเร็วกว่าประเทศไทยเป็น 6 ชม. ด้วยเหตุผลด้าน การประหยัดพลังงานของประเทศนิวซีแลนด์ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4. เงินตรา ประเทศนิวซีแลนด์ใช้สกุลเงินนิวซีแลนด์ดอลลาร์ (NZ$) โดย 1 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ปัจจุบันเท่ากับประมาณ 27 บาท ธนบัตรที่ใช้มีมูลค่าเริ่มต้นตั้งแต่ $5, $10, $20, $50 และ $100 ส่วนเหรียญนั้นมูลค่าน้อยที่สุดที่ใช้คือ $0.05(5 cents), $0.10, $0.20, $0.50, $1 และมูลค่าสูงสุด $2 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5. โทรศัพท์ การติดต่อสื่อสารในนิวซีแลนด์ นับว่ามีความสะดวกสบายมากค่ะ โทรศัพท์มือถือสามารถนำไปจากเมืองไทย และซื้อซิมการ์ดที่นิวซีแลนด์ได้ทันที สะดวก และมีราคาไม่แพง ส่วนการโทรกลับเมืองไทยสามารถโทรกลับได้โดยตรงจากโทรศัพท์มือถือผ่านช่องทางปกติ หรือผ่านทางแอพบริเคชั่นต่างๆ เช่น Line, Skype, Viber, Tango, Kakao หรื่ออื่นๆ ที่มีอยู่มากมาย โดยเสียค่าบริการเป็น Data แทน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6. ไปรษณีย์ ที่ทำการไปรษณีย์ในประเทศนิวซีแลนด์จะเรียกว่า NZ post shop น่าแปลกนะค่ะที่ชาวกีวีไม่เรียก post office ซึ่ง NZ post shop นี้จะพบได้ง่ายมากกระจัดกระจายไปทั่ว ไม่แพ้สาขาของธนาคารเลยค่ะ ด้วยความที่ NZ post shop ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่ด้านการไปรษณีย์เท่านั้น แต่ยังให้บริการอื่นๆ อีกเช่น ชำระค่าไฟฟ้า, ชำระภาษีรถยนต์ประจำปี, ชำระค่าปรับ, ชำระภาษีสัตว์เลี้ยง (หากคิดจะเลี้ยงสุนัขก็ต้องเสียภาษีด้วยนะคะ อัตราขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ค่ะ), ขายหนังสือ, โปสการ์ด, การ์ดในวาระต่าง ๆ และยังให้บริการด้านอื่นๆ อีกมากมายเลยค่ะ เรียกได้ว่า NZ post shop ช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้กับชาวกีวีเป็นอย่างมากเลยค่ะ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7. ไฟฟ้า ประเทศนิวซีแลนด์ ใช้กระแสไฟ 230V AC, 50 Hz เหมือนในยุโรป และออสเตรเลีย(ประเทศไทยใช้ 220V AC, 50 Hz)ซึ่งสามารถใช้ทดแทนกันได้ดังนั้น เครื่องใช้ไฟฟ้าจากเมืองไทยสามารถนำไปใช้ที่ NZ ได้ไม่มีปัญหาค่ะ เพียงแต่ต้องเตรียมตัวแปลงหัวจากสองหัว เป็นสามหัวติดตัวไปด้วยนะค่ะ หรือถ้าไม่ได้เตรียมไป ก็มีขายตามซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8. น้ำประปา น้ำประปาในประเทศนิวซีแลนด์ ผ่านการตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด น้ำประปาจึงมีความสะอาด สามารถดื่มได้อย่างปลอดภัยค่ะ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9. Business Hours
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10. ความปลอดภัย ประเทศนิวซีแลนด์เป็นประเทศที่มีความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินเป็นอันดับต้นๆ ของโลก คดีอาชญากรรมจึงมีจำนวนน้อยมาก นอกจากนี้ตำรวจทุกคนจะได้รับการฝึกฝน ผ่านการอบรมทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติเป็นอย่างดี และไม่พบว่าเคยมีประวัติการคอรัปชั่นแต่อย่างใด ด้วยลักษณะการปฏิบัติงานที่มีความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ตำรวจที่นิวซีแลนด์จึงได้รับความไว้วางใจ จากประชาชนเป็นอย่างมาก ที่สำคัญ นิวซีแลนด์ตำรวจจะไม่มีการพกปืนค่ะ (เหตุด่วนเหตุร้าย Call 111 ) โดย Global Peace Index ปี 2013 จัดให้ประเทศนิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ปลอดภัยที่สุดในโลกเป็นอันดับที่ 3 จาก 144 ประเทศทั่วโลก (รองจาก Iceland และ Denmark)
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11. โทรทัศน์/วิทยุ/หนังสือพิมพ์ การชมโปรแกรมต่างๆ ทางโทรทัศน์ในนิวซีแลนด์ นอกจากจะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้น้องๆ พัฒนาทักษะภาษาด้านการฟัง, ศึกษาวัฒนธรรม และการดำรงชีวิตของชาวกีวีได้เป็นอย่างดีแล้ว โปรแกรมทางโทรทัศน์ที่นิวซีแลนด์นั้นนับว่ามีความน่าสนใจ และน่าติดตามอยู่หลายโปรแกรมด้วยกันค่ะ โดยที่นิวซีแลนด์นั้นมีช่องโทรทัศน์ให้ได้รับชมกันฟรี 4 ช่องหลักค่ะ โปรแกรมจะมีความหลากหลายตามช่วงเวลา และกลุ่มผู้ชม บางเมืองอาจมีช่องพิเศษให้เลือกชมกัน ส่วนสถานีวิทยุนั้นพบว่ามีมากมาย ทั้งในส่วนของ National and Regional ส่วนหนังสือพิมพ์นั้นนอกจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่มีอยู่มากมายแล้ว "New Zealand Herald" ใน Auckland "Dominion" ใน Wellington และ "Press" ใน Christchurch ทั้ง 3 ฉบับเป็นหนังสือพิมพ์ที่แพร่หลาย และมียอดจำหน่ายที่สูง |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12. ภาษา ภาษาราชการ คือ ภาษาอังกฤษ และภาษาเมารี โดยทั่วไปคนกีวีติดต่อสื่อสารกันโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก โดยนักเรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารได้กับทุกคนในประเทศนิวซีแลนด์ รวมถึงชาวเมารีเช่นกันค่ะ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13. การเมืองการปกครอง นิวซีแลนด์มีสถานะเป็นประเทศในอดีตเครือจักรภพอังกฤษ โดยมีองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถแห่งอังกฤษเป็นประมุข มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย และมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารประเทศ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ Hon John Phillip Key เป็นนายกรัฐมนตรี จาก New Zealand National Party ตั้งแต่ November 2008 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14. NZ Fast Facts
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15. สัญลักษณ์ของประเทศที่สำคัญ เฟิร์นสีเงิน (Silver Fern) ปลาเทร้าต์ (Trout) แกะ (Sheep) รักบี้ (Rugby) นกเกีย(Kea) อัลบาทรอส (Albatross)
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16. HAKA น้องๆ ที่เคยชมกีฬารักบี้ทีมชาตินิวซีแลนด์(All Black) แข่งขัน คงต้องเคยชมการเต้น "HAKA" ของทีม All Black ก่อนเริ่มการแข่งขัน และเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของทีมมาตั้งแต่ปี คศ. 1988-1989 และตั้งแต่นั้นมาจากรุ่นสู่รุ่น HAKA โดยข้อเท็จจริง คือ การเต้นรำบวงสรวงก่อนการทำสงครามของชาวเมารีในอดีต ลักษณะเป็นการเต้นรำโดยใช้ร่างกายหลายๆ ส่วนแสดงออก เช่น แขน, ขา, เท้า, ร่างกาย, เสียง, ลิ้น รวมไปถึงสายตาทั้งคู่ ผสมผสานเข้าด้วยกันในการแสดงถึงอารมณ์ที่ต้องการสื่อออกมา เพื่อแสดงออกถึงการท้าทาย, การยั่วยุ, การต่อต้าน, รวมไปถึงการดีอกดีใจ และการต้อนรับขับสู้ ของชาวเผ่าเมารี.. ขณะ HAKA ผู้เต้นจะร้องเปล่งเสียง พร้อมกับตีหน้าขา ท่อนแขน งอเข่า กระแทกเท้าทั้งสองข้างอย่างแรก และทำตาโต แลบลิ้น(เฉพาะผู้ชาย) เนื้อร้องและความหมาย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17. THE LONGEST PLACE NAME In an English-speaking country "Tetaumatawhakatangihangakoauaotamateaurehaeaturipukapihimaungahoronukupokaiwhenuaakitanarahu" แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า ; "KrungThepMahanakhonAmonRattanakosinMahintharaAyuthayaMahadilok PhopNoppharatRatchathaniBuriromUdomratchaniwet มีความหมายว่า ; "The city of angels, the great city, the eternal jewel city, the impregnable city of God Indra , the grand capital of the world endowed with nine precious gems, the happy city, abounding in an enormous Royal Palace that resembles the heavenly abode where reigns the reincarnated god, a city given by Indra and built by Vishnukarn." |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18. SIR EDMUND PERCIVAL HILLARY เซอร์ เอดมันด์ เพอร์ซิฝอล ฮิลลารี หรือ Sir Edmund Percival Hillary เป็นนักสำรวจ และนักปีนเขาชาวนิวซีแลนด์ เป็น 1 ใน 2 คนแรกของโลกที่สามารถขึ้นถึงยอดของยอดเขาเอเวอเรสต์ได้ อีกคนหนึ่งคือ เทียนซิง นอร์เก ชาวเชอร์ปา ซึ่งเป็นคู่ปีนเขา ฮิลลารีเกิดเมื่อวันที่ 20 July 1919 ที่เมือง Auckland, New Zealand. เขาได้รับการศึกษาเริ่มต้นที่โรงเรียน Tuakau Primary และระดับมัธยมศึกษาที่ Auckland Grammar School เขาเรียนจบการศึกษาชั้นประถม เร็วกว่าคนอื่นสองปี แต่ค่อนข้างจะมีนิสัยดื้อรัน เมื่อเข้าเรียนในมัธยมศึกษา ทำให้ผลการเรียนเขาอยู่ในระดับปานกลาง ในวันเด็ก เขาเป็นคนที่ค่อนข้างจะขี้อาย และตัวเล็กกว่าเพื่อนๆ ในระดับเดียวกัน เมื่ออายุได้ 16 ปี เขาเริ่มให้ความสนใจในการปีนภูเขา หลังจากกลับมาจาก School Trip to Mt Ruapehu ยอดเขาที่มีชื่อเสียงของเกาะเหนือ ต่อมาหลังจากจบสาขาวิชา mathematics and science at Auckland University College ในปี 1939 ยอดเขาแรกที่เขาสามารถพิชิตได้ คือ Mount Ollivier (1933 m) ใกล้กับ Mt. Cook ใน Southern Alps เกาะใต้ของนิวซีแลนด์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาได้เข้าร่วมใน Royal New Zealand Air Force (RNZAF) ในฐานะ The navigator ในปี 1951 เขาเป็นส่วนของคณะสำรวจภูมิประเทศ และการปืนเขา Cho Oyu (8201 m)ในปี 1952 เขาทำไม่สำเร็จ ในปี 1953 เป็นเวลานานกว่า 2 เดือน ที่ฮิลลารี และเทียนซิง นอร์เก ใช้ในการเดินทางตามคำเชิญของคณะสำรวจชาวอังกฤษ และสามารถพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ที่สูงที่สุดในโลก ที่ความสูง 8850 เมตร ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของโลกตั้งอยู่บนรอยต่อระหว่างเนปาล และทิเบต เมื่อวันที่ 29 May 1953 เวลาประมาณ 11:30 น. ขณะนั้น เซอร์ เอดมันด์ มีอายุได้ 33 ปี ชื่อของ เซอร์เอดมันด์ ฮิลลารี ถูกนำมาตั้งชื่อหน้าผาสูง 40 ฟุต ที่ระดับความสูง 28,840 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล ทางสันเขาด้านตะวันออกเฉียงใต้ของยอดเขาเอเวอเรสต์ ว่า ฮิลลารีสเตป (Hillary step) ซึ่งเป็นจุดที่ยากที่สุดของการปีนเขาช่วงสุดท้ายก่อนขึ้นถึงยอดเขา และเขายังเป็นชาวนิวซีแลนด์ เพียงคนเดียว ที่มีรูปอยู่ในธนบัตรมูลค่า 5 เหรียญนิวซีแลนด์ ตลอดจนสถานที่สำคัญๆ อีกหลายแห่งทั่วประเทศนิวซีแลนด์ หลักจากนั้นนอกจากเขาจะได้ไปเยือนขั้วโลกใต้ และขั้วโลกเหนือแล้ว เขาได้อุทิศตนในการตั้งมูลนิธิ Himalayan Trust ขึ้นเพื่อช่วยเหลือชาว Sherpa ชุมชนในเทือกเขา Himalayas ในเรื่องการศึกษา และการสาธารณสุขต่างๆ มากมาย ตลอดชั่วชีวิตของเขา เซอร์ เอดมันด์ เพอร์ซิฝอล ฮิลลารี เสียชีวิตอย่างสงบ เมื่อวันที่ 11 January 2008 ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว ที่ Auckland City Hospital ขณะมีอายุได้ 88 ปี
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กีวี เซ็นเตอร์ (ประเทศไทย) ศูนย์รวมข้อมูลการศึกษาต่อประเทศนิวซีแลนด์ โทร 086 368 6300, 086 688 1022, 02 017 5148
Line ID: @kiwicentreth